Please use this identifier to cite or link to this item: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/943
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชินวัฒน์ ศาสนนันทน์TH
dc.date.accessioned2557-02-18T09:36:06Z-
dc.date.available2557-02-18T09:36:06Z-
dc.date.issued2553TH
dc.identifier017_53.pdfTH
dc.identifier.urihttp://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/943-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ซิลิกา เพื่อใช้เป็นสารดูดซับที่มีประสิทธิภาพในการขจัดโลหะจากนําเสียในเขตดุสิต ผลการศึกษาอิทธิพลของสารตั้งต้นซิลิกาได้แสดงให้เห็นถึงการจัดเรียงรูพรุนขนาดกลางของซิลิกาอย่างมีระเบียบและการกระจายขนาดรูพรุนในช่วงที่แคบ เมื่อใช้ TEOS หรือซิลิกาที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงเป็นสารตั้งต้นซิลิกา การเปรียบเทียบความยากง่ายในการสังเคราะห์, ลักษณะทางกายภาพและความสามารถในการสกัด Cu(II) ของสารดูดซับชนิดต่างๆ พบว่าซิลิกาที่สังเคราะห์จาก CTAB/TEOS ในอัตราส่วน0.18 เป็นสารดูดซับที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อการสกัด Cu(II) ในรูปแบบคอลัมน์ SPE พบว่าปัจจัยที่สำคัญคือ อัตราเร็วในการไหลของสารละลายโลหะ โดยความสามารถสูงสุดในการสกัด Cu(II) ของสารดูดซับชนิดนี้มีค่าเท่ากับ0 .1647 โมล/กิโลกรัม เมื่อหาโดยใช้สมการของ Langmuir การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติ ในการสกัดโลหะชนิดอื่นๆ ของซิลิกาให้ผลสรุปว่า ความสามารถของซิลิกาในการสกัดโลหะเหล่านี้ดีที่สุด เมื่อในสารละลายโลหะมีเกลือ NaNO3 อยู่ด้วยและมี pH มากกว่า 3 การศึกษาการเลือกจำเพาะต่อการสกัดโลหะจากสารละลายโลหะผสมระหว่าง Fe(III), Mn(II) และ Zn(II) พบว่าซิลิกาชนิดนี้มีความสามารถที่ดีเยี่ยมและมีการเลือกจำเพาะสูงต่อการสกัด Fe(III) โดยมีค่าการสกัดสูงสุดเท่ากับ 0.1573 โมล/กิโลกรัม เมื่อคิดจากกราฟของ Langmuir ซิลิกาชนิดนี่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยปราศจากการสูญเสียประสิทธิภาพในการสกัด การศึกษาจลนพลศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นถึงอัตราเร็วในกระบวนการสกัดโลหะของสารดูดซับชนิดนี้ การประยุกต์ซิลิกากับการขจัดโลหะชนิดต่างๆ จากตัวอย่างนําเสียที่มาจากแหล่งต่างๆในเขตดุสิตได้ผลเป็นที่น่าพอใจTH
dc.titleการพัฒนาวัสดุดูดซับโลหะหนักจากนําเสียในเขตดุสิต กรุงเทพมหานครTH
Appears in Collections:งานวิจัย (ภาษาไทย)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
017_53.pdf2.93 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.