Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/938
Title: | หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในชุมชนเขตดุสิตของกรุงเทพมหานคร |
Authors: | นางสาวดวงสมร ฟักสังข์ |
Issue Date: | 2555 |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในชุมชนเขตดุสิตของกรุงเทพมหานคร" มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของครัวเรือนในชุมชนเขตดุสิตในการจัดการขยะมูลฝอยกับการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2) พิจารณาวิเคราะห์ถึงลักษณะครัวเรือนที่มีผลต่อการตัดสินใจในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักการ 5R มาใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของครัวเรือนในชุมชนเขตดุสิตและ (3) พัฒนาและส่งเสริมวิธีการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าครัวเรือนในชุมชนเขตดุสิต จำนวน 379 คน หลังคาเรือนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ปลการวิจัยพบว่าหัวหน้าครัวเรือนมีระดับการปฏิบัติของการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนตามหลักการ 5R ในด้านการลดปริมาณขยะ (Reduce) การนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) การนำวัสดุที่ชำรุดมาซ่อมแซมใช้ใหม่ (Repair) และการนำวัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ด้านการหลีกเลี่ยงวัสดุที่ย่อยสลายยาก (Reject) อยู่ในระดับมาก โดยการวิเคราะห์ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ขนาดครัวเรือน การมีส่วนร่วม ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ และความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์กับการนำหลักการ 5R มาใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทงสถิติที่ระดับ 0.5 นอกจากนี้ผลการวิจัย พบว่าการจัดการขยะตามหลักการ 5R มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานในการลดปริมาณขยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครัวเรือนส่วนใหญ่ต้องการให้ชุมชนดำเนินโครงการรีไซเคิลขยะอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งปลูกจิตสำนึกและเผยแพร่ความรู้ให้เยาวชนและคนในชุมชนได้ตระหนักถึงการคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะ และโทษของขยะมูลฝอยในครัวเรือน รวมทั้งต้องการให้ชุมชนจัดกิจกรรมประกวดหน้าบ้านสะอาดปลอดขยะเพื่อเป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับครัวเรือนในการพัฒนาครัวเรือนของตนให้สะอาดอยู่เสมออันส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชนให้ดีขึ้น |
URI: | http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/938 |
Other Identifiers: | 010_2555.pdf |
Appears in Collections: | งานวิจัย (ภาษาไทย) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
010_2555.pdf | 822.2 kB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.