Please use this identifier to cite or link to this item: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/924
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานธุรกิจ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนแบบวัฎจักร การเรียนรู้ (4 MAT) ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ และการเรียนแบบปกติโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
Authors: นิธิดา ทองใส
Issue Date: 2553
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานธุรกิจ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2553 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 2 ห้องเรียนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก ได้ห้องม.2/1 และ ม.2/3 แล้วจับฉลากได้ห้อง ม.2/1 เป็นกลุ่มทดลอง และห้อง ม.2/3 เป็นกลุ่มควบคุมมีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 84 คน เครื่องมือการวิจัยเป็น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ t-test Independent Samples ผลการศึกษาพบว่า 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานธุรกิจ) ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แสดงว่าก่อนการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานธุรกิจ) ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2ก่อนเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสอนแบบ 4 MAT จากการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานธุรกิจ) หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้เรียนด้วยวิธีสอนแบบวัฎจักรการเรียนรู้4 MAT สูงกว่าวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/924
Other Identifiers: 147_53.pdf
Appears in Collections:งานวิจัย (ภาษาไทย)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
147_53.pdf1.76 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.