Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/923
Title: | การพัฒนาทักษะด้านนาฏศิลป์สู่ความเป็นศิลปินของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย |
Authors: | มณิศา วศินารมณ์ |
Issue Date: | 2553 |
Abstract: | การศึกษาเรื่องการพัฒนาทักษะนาฏศิลป์สู่ความศิลปินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบหลากหลาย วิชาศิลปนิพนธ์ เรื่อง การทดสอบมาตรฐานนาฏศิลปิน และตรวจสอบทักษะด้านนาฏศิลป์สู่ความเป็นศิลปินแบบหลวง ตามมาตรฐานหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตลอดจนสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาทักษะด้านนาฏศิลป์สู่ความเป็นศิลปินแบบหลวง โดยพิจารณาพัฒนาการทักษะนาฏศิลป์ของนักศึกษา และการประเมินผลการทดสอบมาตรฐานนาฏศิลปินแบบหลวงของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่จะนำเสนอผลงานการแสดง มาตรฐานนาฏศิลปินในเดือนกันยายน 2553 ในความรับผิดชอบของผู้วิจัย 5 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพัฒนาสู่ขั้นสูง พัฒนาตามคำแนะนำ และมีปัญหาในการนำเสนอ ซึ่งเก็บข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรมเชิงพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ แบบบันทึกพัฒนาทักษะนาฏศิลป์เป็นรายบุคคล และแบบบันทึกสัมภาษณ์ก่อน-หลังพัฒนาทักษะนาฏศิลป์รายบุคคล โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ พัฒนาการของนักศึกษาก่อน-หลังเรียน ประกอบผลการประเมินจากคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิทางนาฏศิลป์ไทยภายนอกสาขาวิชาฯ ผลการศึกษาพบว่า 1. การสร้างแผนจัดการเรียนรู้แบบหลากหลาย วิชาศิลปนิพนธ์ เรื่อง การทดสอบมาตรฐานศิลปินแบบหลวง สร้างขึ้นจากการวิเคราะห์หลักสูตร แบ่งเนื้อหาเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การออกแบบสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทย การทดสอบมาตรฐานนาฏศิลปินแบบหลวง การบริหารจัดการแสดง และการจัดทำรูปเล่มวิจัย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบหลากหลาย และ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อตอบสนองความถนัด ความสนใจ ศักยภาพของนักศึกษารายบุคคล และ ความต้องการของสังคม 2. ความแตกต่างของทักษะนาฏศิลป์ เนื้อหาของการเรียน และระยะเวลาในการฝึกหัดที่จำกัด ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเป็นรายบุคคล การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยการผสมผสานวิธีการจัดการเรียนรู้ตามความถนัด และความสนใจของผู้เรียน เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาศักยภาพรายบุคคล กลุ่ม เน้นเนื้อหา และลดระยะเวลาการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญ คือ การบูรณาการทักษะนาฏศิลป์ด้านต่างๆจนเกิดเอกภาพซึ่งนำไปสู่ความเป็นศิลปิน 3. ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาเกิดความภูมิใจ และประทับใจที่ตนประสบความสำเร็จในการพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ตามศักยภาพของตนเองเกิดความเข้าใจ เชื่อมั่น กล้าแสดงออกทั้งทางความคิด และผลงานการแสดงข้อเสนอแนะการพัฒนาทักษะนาฏศิลป์สู่ความเป็นศิลปินแบบหลวงของ นักศึกษา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อบูรณาการความรู้และประสบการณ์ผู้เรียน ผู้สอนควรสำรวจพื้นฐานความรู้ ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน นอกจากนี้ควรมีจิตวิทยาการสอน โดยนำไปใช้กับผู้เรียนได้ทุกวัย ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกวิธีการเรียนการสอนแบบผสมผสานและหลากหลายให้ เหมาะกับผู้เรียน |
URI: | http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/923 |
Other Identifiers: | 146_53.pdf |
Appears in Collections: | งานวิจัย (ภาษาไทย) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
146_53.pdf | 3.88 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.