Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/918
Title: | การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการใช้กรณีศึกษาในการสอนวิชาการโฆษณาและการส่งเสริมการขายของนักศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ ในโปรแกรมบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Authors: | ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัฒนา ศิริโชติบัณฑิต |
Issue Date: | 2553 |
Abstract: | วัตถุประสงค์การวิจัยคือ การสร้างกิจกรรมและประเมินผลการจัดกิจกรรมโดยใช้กรณีศึกษาเป็นสื่อในการเรียนการสอนวิชาการโฆษณาและการส่งเสริมการขายกับกลุ่มนักศึกษาศิลปกรรมศาสตร์ช้นปีที่ 2 วิชาเอก การออกแบบนิเทศศิลป์ และทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการสอนแบบเดิมที่ให้ครู เป็นศูนย์กลางกับวิธีการใช้กรณีศึกษากับกลุ่มนักศึกษาศิลปกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 2 วิชาเอกการออกแบบหัตถศิลป์ สร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ การทดลองใช้นักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 48 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองคือ นักศึกษาวิชาเอก การออกแบบนิเทศศิลป์จำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมเป็นนักศึกษาวิชาเอก การออกแบบหัตถศิลป์สร้างสรรค์จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายจำนวน 5 เรื่อง ตำราเรียนหลัก แบบทดสอบกลางภาคและปลายภาค และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน ผู้วิจัยได้ทำการสอนนักศึกษาทั้งสองกลุ่มด้วยวิธีการที่แตกต่าง กันในจำนวนทั้งสิ้น1 5 ครั้งๆ ละ 3 คาบเวลา กลุ่มทดลองได้เรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการใช้กรณีศึกษา ส่วนกลุ่มควบคุมได้ใช้วิธีการบรรยายโดยทั่วไป แล้วทำการทดสอบกลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบชุดเดียวกันในเวลาและห้องสอบเดียวกัน ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยการสอบกลางภาคและการสอบปลายภาคของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับที่ 0.01 ด้วยการทดสอบสถิติ paired t-test โดยนักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอนโดยเทคนิควิธีการใช้กรณีศึกษาจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ ได้รับการเรียนการสอนแบบบรรยายตามปกติทั่วไปการสอบกลางภาคของกลุ่มนักศึกษาที่ใช้กรณีศึกษามีคะแนนโดยเฉลี่ยของห้องเท่ากับ 13.30 ส่วนการสอบปลายมีคะแนนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 18.13 และมีคะแนนโดยเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มนักศึกษาที่ใช้การเรียนการสอนแบบเดิม กล่าวคือคะแนนเฉลี่ยการสอบกลางภาคสูง กว่า 5.82 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยการสอบปลายภาคสูงกว่า 7.13 ตามลำดับ เกณฑ์ประสิทธิภาพสื่อ E1/E2 เท่ากับ 96/52 นอกจากนีผู้วิจัยยังได้กรณีศึกษาสำหรับใช้ในการเรียนการสอนวิชาดังกล่าวจำนวน 5 กรณีศึกษา ที่สามารถจะนำมาประยุกต์กับการสอนวิชาการตลาดอื่นๆ ในโปรแกรมบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้ เป็นอย่างดี สุดท้ายนักศึกษากลุ่มทดลองได้รับความพึงพอใจในการเรียนแบบกรณีศึกษามากกว่าการบรรยายและมีเหตุผลประกอบจำนวนมากข้อเสนอแนะการวิจัยคือ 1) ผู้วิจัยสามารถใช้กรณีศึกษาสำหรับการเรียนรู้ด้วยวิธีการให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางได้แต่ก็ควรคำนึงถึงวิธีการเลือกกรณีศึกษาที่เหมาะสมกับวิชาที่เรียนและสภาพแวดล้อมของห้องเรียนก่อนที่จะนำมาใช้ 2) กลุ่มตัวอย่างที่จะทำการทดลองในการวิจัยครั้งต่อไปควรจะใช้นักศึกษาในบริหารธุรกิจในวิชาเอกต่างๆ เช่น บริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงินบัญชี การตลาด และอื่นๆ 3) การใช้กรณีศึกษาในการวิจัยสามารถจะใช้ร่วมกับวิธีการสอนแบบอื่นๆ ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI การสอนผ่านเว็บ หรือ WBI และการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-learning และ 4) หากมีการวิจัยเชิงทดลองเช่นนี้ในครั้งต่อไปผู้วิจัยควรจะทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังกราเรียนรู้ด้วยการใช้กรณีศึกษา |
URI: | http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/918 |
Other Identifiers: | 136_53.pdf |
Appears in Collections: | งานวิจัย (ภาษาไทย) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
136_53.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.