Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/914
Title: | การรำเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง : เพลงตระ(ตัวพระ) |
Authors: | ชมนาด กิจขันธ์ |
Issue Date: | 2553 |
Abstract: | การศึกษาเรื่องการรำเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง : เพลงตระ(ตัวพระ)มุ่งศึกษาความเป็นมาและบริบทที่สำคัญของเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของท่ารำเพลงตระนิมิต ตระสันนิบาต ตระนารายณ์ และตระเชิญ กับท่วงทำนองเพลง จังหวะหน้าทับและไม้กลองผลการศึกษาพบว่าผู้ที่จะรำหน้าพาทย์ชั้นสูงห รือ "รำเพลงครู"ต้องได้รับการต่อเพลงจากครูโดยต้องเข้าพิธีครอบมาก่อน เพลงตระมีท่วงทำนองที่แสดงให้เห็นถึงความสงบ สุภาพ อ่อนน้อม ทำนองเพลงเคลื่อนที่ไปในแนวนอนอย่างสมเสมอและราบเรียบ และใช้หน้าทับตระ มี "4 ไม้ลา" ท่ารำเพลงตระนำมาจากท่ารำเพลงแม่บทเป็นส่วนใหญ่ใช้เวลาอย่างน้อย 4 จังหวะฉิ่งต่อ 1 ท่ารำ ซึ่งไม่ได้สื่อความหมายตามอารมณ์ของเรื่อง เพลงตระทั้งหมดจะต้องบรรเลง 2 เที่ยวจึงจะครบถ้วนของกระบวนการรำ ท่ารำทุกท่าต้องรำ 2 ครั้งในทางตรงกันข้ามเสมอเพื่อความสมดุล การทำท่าต่อหรือการเชื่อมต่อท่ารำ จะใช้ระยะเวลา 4 จังหวะฉิ่งหรือ 8 ห้องของโน้ตเพลงในอัตราจังหวะ2 ชั้น โดยรักษาระดับและองศาของแขนและขา เพื่อให้ท่ารำนั้นมีความนิ่ง ดูสง่างาม สอดคล้องกับทำนองและจังหวะเพลง เพลงตระจะต่อด้วยเพลงรัว ซึ่งเป็นขั้ นตอนของการเปลี่ยนเหตุการณ์และแสดงความสำเร็จที่ใกล้จะสัมฤทธิ์ผลถึงสุดยอด ท่ารำเพลงรัวประกอบด้วยท่าไหว้ ทุกท่ารำต้องให้พร้อมกับระดับเสียงกรอรัว นานๆ ของดนตรีเป็นสำคัญ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ควรจัดสัมมนาหรือทำการวิจัยเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงและเพลงหน้าพาทย์ธรรมดา เพื่อให้ครูดนตรี นักดนตรี ครูนาฏศิลป์และนาฏศิลปินได้เข้าใจตรงกัน โดยเฉพาะควรทำวิจัยการรำหน้าพาทย์เพลงตระอื่นๆ เช่น ตระบรรทมไพร ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ตระพระพิฆเนศ เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาองค์ความรู้นาฏศิลป์ของไทย และควรมีการวิเคราะห์ท่ารำหน้าพาทย์เพลงอื่นๆ ที่ใช้หน้าทับกระบองกัน หน้าทับรัวและหน้าทับสาธุการ ตลอดจนเพลงหน้าพาทย์ที่มีการสร้างสรรค์ท่ารำในโอกาสต่างๆเพื่อให้วิทยาการด้านนาฏศิลป์ ไทยมีความเป็นศาสตร์ควบคู่กับความเป็นศิลป์ มากยิงขึ้น |
URI: | http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/914 |
Other Identifiers: | 127_53.pdf |
Appears in Collections: | งานวิจัย (ภาษาไทย) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
127_53.pdf | 6.04 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.