Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/757
Title: | แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ |
Issue Date: | 2555 |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ จาแนกตามเพศ อายุ ชั้นปี และมหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กาลังศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร 6 แห่ง ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 4) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 5) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 6) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จานวน 420 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามวัดพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา โดยข้อความที่สร้างขึ้นเป็นแบบมาตรประเมินค่า (Rating scale) แบบ 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9406 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ ได้แก่ t-test และ One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวม อยู่ในระดับสูง (= 3.78) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ได้แก่ ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์ ความอดทน อดกลั้น ความยุติธรรม ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ยกเว้นจริยธรรมความประหยัดอดออมที่อยู่ในระดับปานกลาง 2. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีเพศต่างกัน มีพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาหญิงมีพฤติกรรมสูงกว่านักศึกษาชาย3. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีอายุต่างกัน มีพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน 4. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏที่เรียนในชั้นปีที่ต่างกัน มีพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน 5. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 6 แห่ง มีพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จานวน 5 ด้าน คือ ด้านความขยันหมั่นเพียร ด้านความประหยัดอดออม ด้านความอดทน อดกลั้น ด้านความยุติธรรม และด้านความมีระเบียบวินัย 6. นักศึกษามีความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏใน 4 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 แนวทางด้านการดาเนินชีวิตในสังคม นักศึกษาเห็นว่าคุณธรรมจริยธรรมที่นักศึกษาควรจะมีในการดาเนินชีวิตที่สาคัญมี 3 ด้าน คือ ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความรับผิดชอบ และด้านความซื่อสัตย์สุจริต ประเด็นที่ 2 แนวทางด้านการจัดการเรียนการสอน นักศึกษามีความเห็นว่าแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมให้กับนักศึกษา คือ การสอดแทรกหลักคุณธรรมจริยธรรม ในขณะที่อาจารย์ทาการสอนแต่ละวิชา ประเด็นที่ 3 แนวทางด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรม นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมให้กับนักศึกษานั้น มหาวิทยาลัยควรมีการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นประจา เพื่อจะได้ซึมซับและติดตัวไปตลอด ประเด็นที่ 4 แนวทางด้านการประกอบอาชีพตามจรรยาบรรณ นักศึกษามีความคิดเห็นว่านักศึกษาจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพของตนในอนาคต มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษามีคุณธรรมในด้านนี้ ด้วยการฝึกอบรมเกี่ยวกับจรรยาบรรณในวิชาชีพก่อนจบการศึกษา |
URI: | http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/757 |
Appears in Collections: | งานวิจัย (ภาษาไทย) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
178-55.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.