Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/638
Title: | นักการบัญชีไทยกับความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชี ตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน |
Authors: | ลัดดา หิรัญยวา |
Issue Date: | 2555 |
Abstract: | การศึกษาเรื่องนักการบัญชีไทยกับความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนในด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะและด้านมาตรฐานการบัญชี จาแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์ทางานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านบัญชีและข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีบ่อยแค่ไหนภายใน 1 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จานวน 213 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจากการสัมภาษณ์จานวน 12 คน และจากการตอบแบบสอบถาม จานวน 201 คน ได้แก่ ผู้ทาบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทาบัญชี ธุรกิจการจัดทาบัญชี และอาจารย์ผู้สอนบัญชี และได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์จานวน 200 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที (t-test) และสถิติ f – test ผลการวิจัยพบว่า 1. นักการบัญชีไทยที่มีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะและ ด้านมาตรฐานการบัญชีอยู่ในระดับมาก 2. นักการบัญชีไทยที่มีเพศแตกต่างกันทาให้มีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนด้านของมาตรฐานทางการบัญชี ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศชายมีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนมากกว่าเพศหญิง 3. นักการบัญชีไทยที่มีอายุแตกต่างกันทาให้มีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดย กลุ่มอายุ 20 – 25 ปี, 26 – 30 ปี และ 31 – 35 ปี จะมีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนด้านความรู้ความสามารถอยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มอายุ 36 – 40 ปี และ 41 ปีขึ้นไป จะมีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน ด้านทักษะ และด้านมาตรฐานทางการบัญชีอยู่ในระดับมาก4. นักการบัญชีไทยที่มีการศึกษาแตกต่างกันทาให้มีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ผู้ที่มีการศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก จะมีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน ด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะ และด้านมาตรฐานทางการบัญชีอยู่ในระดับมาก 5. นักการบัญชีไทยที่มีอาชีพแตกต่างกันทาให้มีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจการจัดทาบัญชี และอาจารย์ผู้สอนบัญชี จะมีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนด้านความรู้ความสามารถอยู่ในระดับมาก สาหรับอาจารย์ผู้สอนบัญชี จะมีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนด้านทักษะ และด้านมาตรฐานทางการบัญชีอยู่ในระดับมาก 6. นักการบัญชีไทยที่มีประสบการณ์ทางานแตกต่างกันทาให้มีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนไม่ต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ที่มีประสบการณ์ทางานมากกว่า 10 ปี จะมีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะ และด้านมาตรฐานทางการบัญชีอยู่ในระดับมาก 7. นักการบัญชีไทยที่มีความถี่ในการรับข้อมูลแตกต่างกันทาให้มีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนไม่ต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ที่มีความถี่ในการรับข้อมูล มากกว่า 10 ครั้ง จะมีความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียนด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะ และด้านมาตรฐานทางการบัญชีอยู่ในระดับมาก |
URI: | http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/638 |
Appears in Collections: | งานวิจัย (ภาษาไทย) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
028-55.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.