Please use this identifier to cite or link to this item: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/637
Title: ความหลากชนิดของนกในพื้นที่สวนผลไม้ อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิธินาถ เจริญโภคราช
Keywords: ความหลากชนิดของนก, สวนผลไม้, อาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
Issue Date: 2555
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจ ทั้งวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาชนิดนก ปริมาณความชุกชุมและสถานภาพของนก 2. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์พื้นที่ของนก ในบริเวณพื้นที่ที่ศึกษา 3. เพื่อนาฐานข้อมูลทรัพยากรชนิดนกมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมเกษตรกรทาสวนผลไม้ปลอดสารพิษ การวิจัยครั้งนี้ใช้การเก็บรวบรวมด้วยการสัมภาษณ์เจ้าของสวนผลไม้ และการสารวจภาคสนามเกี่ยวกับชนิดนก ลักษณะกิจกรรมที่นกเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่สวนผลไม้ 3 ประเภท คือ สวนลิ้นจี่ สวนมะพร้าว และสวนส้มโออาเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม จานวน 6 สวน โดยทาการสารวจตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2555 และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละของความชุกชุม ผลการศึกษาจากการสารวจชนิดนกทั้ง 6 สวน พบนกจานวน 24 วงศ์ 38 ชนิด โดยในสวนมะพร้าว ในตาบลบางนกแขวก อาเภอบางคนที จะพบจานวนชนิดนกมากที่สุด คือ จานวน 31 ชนิด ส่วนระดับความชุกชุม ระดับ 5 คือนกที่พบบ่อยมาก มีจานวน 18 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 47.37 ของชนิดนกทั้งหมดที่พบ ได้แก่ นกกินเปี้ยว นกกาเหว่า นกกะปูดใหญ่ นกยางเปีย นกกวัก นกยางกรอกพันธุ์ชวา นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกกินปลีอกเหลือง เป็นต้น ส่วนสถานภาพของนก มีนกประจาถิ่น จานวน 36 ชนิด นกประจาถิ่นและนกอพยพ จานวน 1 ชนิด และนกอพยพ จานวน 1 ชนิด โดยในช่วงเดือนกรกฏาคม มีชนิดของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ศึกษาจานวน 31 ชนิด ลักษณะกิจกรรมที่เข้ามาใช้ประโยชน์ มีทั้งเพื่อการหาอาหาร ประกอบด้วย กลุ่มนกกินแมลงและตัวหนอนของแมลง ได้แก่ นกกระจิบธรรมดา นกกระจิ๊ดขาสีเนื้อ เป็นต้น กลุ่มนกกินสัตว์อื่นๆ และสัตว์น้า ได้แก่ นกกระเต็นอกขาว นกกินเปี้ยว เป็นต้น กลุ่มนกกินเมล็ดพืช ได้แก่ นกกระติ๊ดขี้หมู นกกระติ๊ดตะโพกขาว เป็นต้น กลุ่มนกกินน้าหวานจากดอกไม้ ได้แก่ นกกินปลีอกเหลือง นกกินปลีคอสีน้าตาล เป็นต้น กลุ่มนกกินลูกปลา กุ้งตัวเล็กตามริมชายคลอง ได้แก่ นกยางเปีย นกยางกรอกพันธุ์ชวา นกกวัก เป็นต้น เพื่อ ทารังวางไข่ และเลี้ยงลูก ในช่วงเวลาที่ทาการศึกษาในพื้นที่สวนผลไม้ ได้แก่นกยางกรอกพันธุ์ชวา นกกระติ๊ดตะโพกขาว และนกกวัก ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรทาสวนผลไม้แบบผสมผสานและแบบเกษตรอินทรีย์เพื่ออนุรักษ์ความหลากชนิดของนก เพราะนกจะมีคุณค่าต่อการเกษตรทั้งในด้านการผสมเกสร การแพร่กระจายพันธุ์พืช การกาจัดศัตรูพืช เป็นต้น
URI: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/637
Appears in Collections:งานวิจัย (ภาษาไทย)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
027-55.pdf6.33 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.