Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/567
Title: | การวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบการป้องกันอันตรายจากการทางาน ในงานนอกระบบ จังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | อาจารย์อรัญ ขวัญปาน |
Keywords: | พัฒนารูปแบบการป้องกันอันตราย |
Issue Date: | 2554 |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์และพัฒนารูปแบบการป้องกันอันตรายจากการทางานในงานนอกระบบ จังหวัดสมุทรสงคราม โดยทาการศึกษาใน 2 กลุ่มอาชีพคือ กลุ่มอาชีพหัตถกรรมกะลามะพร้าว และกลุ่มอาชีพหัตถกรรมเบญจรงค์ โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพและอันตรายจากการประกอบอาชีพ การสารวจสภาพการทางานและสภาพแวดล้อมในการทางาน การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทางานของกลุ่มอาชีพ และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในกลุ่มอาชีพที่ศึกษา โดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมในการทางาน การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการใช้เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ ทาความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ใช้รูปแบบการเรียนรู้และการแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อให้ได้แนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขสภาพปัญหาหรืออันตรายที่เกิดจากการประกอบอาชีพ จากนั้นติดตามผลการเรียนรู้ และประเมินผลการดาเนินการเพื่อหาส่วนที่ต้องปรับปรุง เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า ในขั้นตอนการมองสภาพปัญหาร่วมกันทางด้านสุขภาพอนามัยจากการทางานนั้น จะทาให้ผู้ประกอบอาชีพเกิดการเรียนรู้ถึงปัญหาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยที่เกิดจากการปฏิบัติงานอยู่นั้น ทั้งที่ตนเคยได้รับ และจากประสบการณ์ของผู้อื่น ซึ่งทาให้เกิดการตระหนักและรับทราบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้จากการทางาน เป็นการมองและรับทราบปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยสามารถทาได้ง่ายขึ้นในระดับที่ผู้ประกอบอาชีพสามารถเข้าใจได้ง่าย ซึ่งจะนาไปสู่การคิดหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขอันตราย หรือปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากในการประกอบอาชีพหัตถกรรมมีความแตกต่างของสถานที่ทางานอย่างหลากหลาย ลักษณะการจัดสภาพแวดล้อมในการทางานก็ต่างกัน ซึ่งเป็นข้อเฉพาะของสถานที่ทางานแต่ละแห่ง แต่จะมีส่วนคล้ายคลึงกันก็คือ วิธีการทางาน ท่าทางในการทางาน และเครื่องมือที่ใช้ในการทางาน ซึ่งจะมีการปฏิบัติตามๆ กันมา ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทางานจึงเป็นข้อจากัดมากในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้กลุ่มผู้ประกอบอาชีพมีความต้องการได้รับความรู้เพิ่มเติมจากหน่วยงานของรัฐ ในความรู้เรื่องต่างๆ ซึ่งสรุปแล้ว 2 ด้าน คือ ความรู้ด้านการยศาสตร์ และการจัดสภาพแวดล้อมในการทางานที่เหมาะสม ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้การป้องกันอันตรายนี้ สามารถนาไปใช้ในการดาเนินการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และป้องกันอันตรายในการประกอบอาชีพหัตถกรรมในกลุ่มอื่นๆ ได้ |
URI: | http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/567 |
Appears in Collections: | งานวิจัย (ภาษาไทย) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159-54.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.