Please use this identifier to cite or link to this item: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/517
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Authors: กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์
Issue Date: 2554
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านครู และปัจจัยด้านสถานศึกษา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่กาลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จานวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ประกอบด้วยข้อคาถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านครู และปัจจัยด้านสถานศึกษา มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9358 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านครู และปัจจัยด้านสถานศึกษา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ.2551 ของนักเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยด้านนักเรียนได้แก่ เพศ (X1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X3) เจตคติต่อการเรียน (X4) และปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ รายได้ผู้ปกครอง (X8) โดยมีค่าความสัมพันธ์ตั้งแต่ .278 ถึง .360 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .052. ปัจจัยที่มีนัยสาคัญในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (Y) มีอยู่ 6 ตัว คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X3) เพศ (X1) รายได้ผู้ปกครอง (X8) การดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครอง (X10) การใช้เวลาเพื่อการเรียน (X5) และเจตคติต่อการเรียน (X4) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .632 ซึ่งมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าสัมประสิทธิ์การทานาย (R2) เท่ากับ .400 แสดงว่าตัวแปรทั้ง 6 ตัวสามารถทานายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 40.0 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y’ = 1.788 + .354 X3 + .321 X1 + .079 X8 -.145 X10 - .124 X5 + .097 X4
URI: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/517
Appears in Collections:งานวิจัย (ภาษาไทย)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
078-54.pdf1.32 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.