Please use this identifier to cite or link to this item: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/475
Title: การมีส่วนร่วมในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์สู่ความต้องการ ของกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ขันลงหินชุมชนบ้านบุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
Authors: นางสาวจิติมา เสือทอง
นางสาวมัทนา โมรากุล
นางสาววรฤทัย หาญโชติพันธุ์
Issue Date: 2554
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสารวจความต้องการบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ขันลงหิน และเพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ขันลงหิน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเรื่องนี้จะศึกษาถึงปัจจัยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์สู่ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ขันลงหิน โดยทาการวิจัยจากผู้ผลิตและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ประชากร ได้แก่ ประชากรผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ขันลงหินชุมชนบ้านบุ จานวน 1 คน และกลุ่มผู้บริโภค จานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จานวน 2 ชุด โดยแบบสอบถามชุดที่ 1 ทาการศึกษาทั้งกลุ่มประชากรจากผู้ผลิตและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ขันลงหิน จานวน 31 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขึ้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยแยกเป็นหมวดหมู่ของข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์และมีประเด็นที่เชื่อมโยงกัน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติขั้นสูงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple Correlation) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง และชุดที่ 2 เป็นการประเมินผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ จานวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า ผลจากการศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์สู่ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ขันลงหินชุมชนบ้านบุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พบว่า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์สู่แนวทางการออกแบบแนวทางที่ 3 เป็นแนวทางการออกแบบที่สมควรทาไปพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ขันลงหินต่อไป ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จึงควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้แบบสอบถามเพียงอย่างเดียว เพื่อให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การสังเกต และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 2) ควรมีการศึกษาความต้องการของผู้ผลิตแบบเจาะลึก เพื่อการนาไปพัฒนาต่อยอดบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์จากรูปแบบปัจจุบัน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ขันลงหินเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า และผู้ผลิตให้ความสาคัญกับบรรจุภัณฑ์รูปแบบปัจจุบันอยู่มาก
URI: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/475
Appears in Collections:งานวิจัย (ภาษาไทย)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
048-54.pdf4.53 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.