Please use this identifier to cite or link to this item: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/464
Title: การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ค้ารายย่อย เขตเทศบาลตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม
Authors: นางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา
Issue Date: 2554
Abstract: การวิจัยครัง้ นีมี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ค้นหากลยุทธ์ รูปแบบ วิธีการแบบพิเศษทาง การตลาดเพื่อสร้างแรงดึงดูดใจลูกค้า สร้างรายได้เพมิ่ ของผู้ค้ารายย่อย ตลอดจนระดับความ สัมฤทธิ์ผล ความพึงพอใจ ความร่วมมือที่เกิดขึน้ กับผู้ค้ารายย่อยในชุมชน ฝั่งตลาดชุมชนศาลายา ด้านใน (ศาลายาเก่า) เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการให้ความรู้แก่ผู้ค้ารายย่อยต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ค้ารายย่อย ของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 200 คน การศึกษาครัง้ นีใ้ ช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In- Depth Interview) ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทัง้ หมด วิเคราะห์โดย โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 26 – 35 ปี เป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับ การศึกษา และมีสถานภาพทางสังคมตา่ํ เข้าสู่อาชีพเป็นผู้ค้ารายย่อยเนื่องจากความยากจน และ เป็นอาชีพที่เข้าง่าย มีความเป็นอิสระ ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก กิจการขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่ มากในแต่ละวัน ขาดแคลนเงินทุนในการประกอบอาชีพ มีภาระหนีสิ้นที่มีอัตราดอกเบีย้ สูง เนื่องจาก เป็นการกู้จากแหล่งเงินกู้นอกระบบ 2.ปัญหาของตลาดศาลายา (เก่า)คือความแตกต่างของบริบททางสังคมและการขยายตัว ทางเศรษฐกิจจากสังคมชุมชนเล็กสู่สังคมเมืองใหญ่ พืน้ ฐานความเจริญและวิถีชีวิตจึงแตกต่างกัน ไปอย่างเห็นได้ชัด ลูกค้าไม่มีการกระจายตัวเข้าสู่บริเวณตลาดศาลายาเก่า แต่เกิดการกระจุกตัวที่ ตลาดใหม่เท่านัน้ อีกทัง้ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ต้องอาศัยการสนับสนุน งบประมาณ การร่วมมือ จากทุกฝ่ายซึ่งมีข้อจำกัดเป็นอุปสรรค วิธีการแก้ไขปัญหา หากมีหน่วยงานต่างๆเข้ามาสร้างความ เจริญ สร้างกิจกรรมต่างๆที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาถึงฝั่งด้านในตลาด ศาลายาเก่าได้3. กลยุทธ์ รูปแบบ วิธีการแบบพิเศษทางการตลาดเพื่อสร้างแรงดึงดูดใจลูกค้า สร้างรายได้ เพิ่มของผู้ค้ารายย่อยของฝั่งตลาดชุมชนศาลายาด้านใน (ศาลายาเก่า) คือการปรับปรุงสินค้าที่ขาย และปรับวิธีการค้าขายให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า การหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่มีสีสัน สวยงาม ประทับใจ สื่อถึงเอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์ของชุมชนศาลายา ตลาดเก่าย้อนยุค เพื่อให้เป็นไปตาม กระแสความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นิยม ความสะดวกสบายของลูกค้า เช่นสุขาที่ สะอาด และเพียงพอ จัดให้มี กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจต่างๆ ในพืน้ ที่เพื่อดึงดูดการเยี่ยมชม, การ จัดการเส้นทางการคมนาคมก็ควรให้มีการสัญจรผ่านไปมาในพืน้ ที่ขายสินค้า, มีที่จอดรถเพียงพอ และปลอดภัย การหาทำเลที่ลูกค้าสังเกตเห็นได้ง่าย อีกทัง้ การทำป้ ายประชาสัมพันธ์ให้มีความ สะดุดตามากขึน้ และยังต้องพิจารณาถึงช่วงเวลาที่ขายด้วย 4. รูปแบบ วิธีการแบบพิเศษในงานวิจัยพบว่าการสร้างความโดดเด่น แปลกตา สะดุดใจแก่ ลูกค้าเป็นสงิ่ ที่ผู้ค้ารายย่อยมีความคิดเห็นที่ยอมรับว่าเป็นสงิ่ ที่ควรได้รับการสนับสนุนในเรื่องของ องค์ความรู้งบประมาณ และการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เป็นอย่างยิ่ง เช่น การจัดกิจกรรมโดยให้ แม่ค้า พ่อค้า ร่วมมือร่วมใจกันใส่เสือ้ สีสดใส ลายดอก ที่สะดุดตา เป็นการสร้างความเป็นอันหนงึ่ อันเดียวกันของผู้ค้ารายย่อยในช่วงวันที่มีการจัดกิจกรรมพิเศษ อีกทัง้ เป็นการเชิญชวนลูกค้า นักท่องเที่ยวให้อยากมาสัมผัสกับบรรยากาศที่ย้อนยุคไปในอดีตอีกด้วย ข้อเสนอแนะ 1. สนับสนุนให้มีการจัดตัง้ ชมรมหรือสมาคมสำหรับผู้ประกอบการค้ารายย่อยประเภทต่าง ๆ ในศาลายา ให้มารวมตัวกัน และใช้เป็นที่สำหรับเผยแพร่ความรู้ เทคโนโลยี และให้การฝึกอบรม เพื่อให้ผู้ประกอบการค้ารายย่อยและลูกจ้างสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจการ โดยหน่วยงาน ราชการ ภาครัฐให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็น 2. มอบหมายหน่วยงานของรัฐให้รับผิดชอบในการดูแล พัฒนา ให้ความรู้ด้านการประกอบ อาชีพ จัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวก สวัสดิการและอื่น ๆ 3. ให้การสนับสนุนทางด้านเงินทุนในอัตราดอกเบีย้ ต่ำ และสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย 4. จัดระเบียบให้ขายในที่กำหนด และผ่อนผันการเสียค่าธรรมเนียม 5. ส่งเสริมให้ได้รับผลประโยชน์จากการระบบประกันสังคม 6. ใช้หมายเลขตามบัตรประจำตัวประชาชนเป็นรหัสในการรับบริการของรัฐทุกประเภท
URI: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/464
Appears in Collections:งานวิจัย (ภาษาไทย)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
038-54.pdf2.5 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.