Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/460
Title: | การผลิตพลังงานทดแทนจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรร่วมกับวัชพืชน้า ในพื้นที่อ้าเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์ โกวิท สุวรรณหงษ์ |
Keywords: | วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร พลังงานทดแทน อ้าเภออัมพวา |
Issue Date: | 2554 |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหากระบวนการที่เหมาะสมในการผลิตพลังงาน ทดแทนจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรร่วมกับวัชพืชน้า และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของ ชุมชนด้านการจัดการวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและการก้าจัดวัชพืชน้าให้เกิดประโยชน์ต่อวิถี ชีวิตของชุมชน โดยใช้กระบวนวิจัย 4 ขั้น ตอน ประกอบด้วย การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชนเพื่อค้นหาปัญหา ก้าหนดแนวทางการด้าเนินงาน และคัดเลือกพื้นที่ตัวอย่าง โดยใช้ ผลการหารือร่วมกับตัวแทนชุมชนทั้ง 11 ต้าบลของอ้าเภออัมพวา พร้อมทั้งสอบถามเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ในการคัดเลือกพื้นที่ศึกษา การน้าตัวอย่างวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและ วัชพืชน้ามาทดลองผลิตแก๊สชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการ การร่วมออกแบบสร้างระบบผลิต แก๊สชีวภาพในพื้นที่ตัวอย่าง และการจัดอบรม สาธิต ประเมินผลระดับความพึงพอใจของชุมชน ผลการวิจัย พบว่า ร้อยละ 85.5 ของผู้เข้าประชุมร่วมหารือให้ใช้พื้นที่ของต้าบลบางนางลี่เป็น พื้นที่ตัวอย่างในการศึกษา ซึ่งมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและวัชพืชน้าที่สร้าง ปัญหา กับ สิ่งแวดล้อม และปัญหาด้านการสัญจรทางน้า ประกอบด้วย เปลือกมะพร้าวสด ประมาณ 10-15 ตันต่อฤดูกาล เปลือกส้มโอประมาณ 2-4 ตันต่อฤดูกาล วัชพืชน้าประเภทสาหร่ายหางกระรอก ผักตบชวา จอก แหน ประมาณ 1-3 ตันต่อเดือน ในส่วนของผลการทดลองผลิตแก๊สชีวภาพใน ระดับห้องปฏิบัติการ พบว่า สามารถผลิตแก๊สชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 4 ประเภท ประกอบด้วย วุ้นมะพร้าว เปลือกส้มโอ สาหร่ายหางกระรอก ผักตบชวา ร่วมกับมูลโค ในสัดส่วน 1:0:0:0:1 โดยน้าหนักในปริมาตร 10 ลิตร สามารถผลิตแก๊สชีวภาพได้สูงสุดที่ 101.44 มิลลิลิตร ในระยะเวลา 45 วัน ผลิตแก๊สมีเทนได้สูงสุด 77.70 เปอร์เซ็นต์ และจาก การน้าผลการศึกษาไปสู่การการออกแบบผลิตแก๊สชีวภาพในระดับชุมชนโดยสร้างระบบผลิต แก๊สชีวภาพแบบปลั๊กโฟลว์ ความจุ 4,000 ลิตร พบว่า สามารถผลิตแก๊สชีวภาพได้สูง 115.86 ลิตร และผลิตแก๊สมีเทนได้สูงสุด 80.5 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลาในการผลิต ต่อเนื่องระยะเวลาประมาณ 30-45 วัน และผลการทดสอบระดับความพึงพอใจของชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรม การวิจัยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจในระดับมากในทุก ๆ ประเด็น และมีความพึงพอใจในระดับมาก ในทุก ๆ ประเด็น และมีความพึงพอใจในภาพรวมของกระบวนการวิจัยในระดับมาก |
URI: | http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/460 |
Appears in Collections: | งานวิจัย (ภาษาไทย) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
026-54.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.