Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/395
Title: | การส่งเสริมการท่องเที่ยวกับการฟุ้งกระจายของสภาวะฝุ่นละออง ในเส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | อาจารย์อรัญ ขวัญปาน |
Keywords: | ภาวะฝุ่นละอองจากแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม |
Issue Date: | 2553 |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณฝุ่นละอองในเส้นทางการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม รวมถึงการศึกษาข้อมูลด้านความคิดเห็นด้านปัญหาของฝุ่นละออง จากพ่อค้า แม่ค้า ประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา ที่มีต่อสภาวะฝุ่นละออง โดยท้าการศึกษาในเส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวดอนหอยหลอด แหล่งท่องเที่ยวตลาดน้้าอัมพวา แหล่งท่องเที่ยวตลาดน้้าท่าคา และแหล่งท่องเที่ยวค่ายบางกุ้ง การเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง ท้าการเก็บฝุ่นละอองรวม (TSP) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM-10) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ส่วนการเก็บข้อมูลด้านความคิดเห็น ใช้การตอบแบบสอบถามโดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพ่อค้า แม่ค้า ประชาชน จ้านวน 378 คน นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา จ้านวน 400 คนจาก 4 แหล่งท่องเที่ยว ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณฝุ่นละอองรวม (TSP) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกินค่ามาตรฐาน ในทุกเส้นทางที่ศึกษา พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 46.85-105.10 มคก./ลบ.ม. โดยตรวจพบค่าเฉลี่ยสูงสุดวันเสาร์ในเส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวตลาดน้้าท่าคา ซึ่งมีค่าเท่ากับ 105.10 มคก./ลบ.ม. ส้าหรับค่าเฉลี่ยต้่าสุดวันพุธตรวจพบในเส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวดอนหอยหลอด มีค่าเท่ากับ 46.85 มคก./ลบ.ม. ส่วนปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM-10) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ก็ไม่เกินค่ามาตรฐานในทุกเส้นที่ศึกษา พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 8.47-26.10 มคก./ลบ.ม. โดยตรวจพบค่า เฉลี่ยสูงสุด และต่้าสุดในเส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวตลาดน้้าท่าคา มีปริมาณสูงสุดวันเสาร์มีค่าเท่ากับ 26.10 มคก./ลบ.ม. และมีค่าต่้าสุดวันพฤหัสบดีเท่ากับ 8.47 มคก./ลบ. จากการส้ารวจความคิดเห็น พบว่า พ่อค้า แม่ค้า ประชาชนหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในขณะนั้น ถึงปัญหาฝุ่นละออง โดยกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง ตอบว่าสภาพทั่วไปของปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 34.66 และร้อยละ 37.50 ตามล้าดับ ส่วนสาเหตุของปัญหาฝุ่นละอองนั้น กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง ตอบว่ามีสาเหตุมาจากยานพาหนะ ร้อยละ 76.19 และร้อยละ 70.00 ตามล้าดับ รองลงมาตอบว่ามีสาเหตุมาจากการก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 11.90 และร้อยละ 19.25 ตามล้าดับ ช่วงเวลาที่เกิดปัญหาฝุ่นละอองมากสุดตอบว่า 12.01-15.00 น. คิดเป็นร้อยละ 49.74 ด้านปัญหาฝุ่นละอองต่อสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ตอบว่ามีปัญหาต่อสุขภาพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.92 และร้อยละ 47.75 ตามล้าดับ โดยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในพื้นที่ร้อยละ 96.56 เคยมีปัญหาด้านสุขภาพที่มีสาเหตุมาจากฝุ่นละออง อาการเกี่ยวกับสุขภาพที่พบมาก คือเป็นหวัดจากภูมิแพ้ฝุ่นละออง ไอ เจ็บคอ จากการแพ้ฝุ่นละออง และระคายเคืองตา ตาแดง คันตา ตามล้าดับและยังให้ความเห็นว่า ในอนาคตปัญหาเรื่องฝุ่นละอองจะมีเพิ่มมากขึ้นจากปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น |
URI: | http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/395 |
Appears in Collections: | งานวิจัย (ภาษาไทย) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
119-53.pdf | 4.35 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.