Please use this identifier to cite or link to this item: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/298
Title: การจัดการสิ่งแวดล้อมของสวนผลไม้เพื่อการอนุรักษ์หิ่งห้อยในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: อาจารย์.ดร.ทัศนาวลัย อุฑารสกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิวพันธุ์ ชูอินทร์
Keywords: สวนผลไม้ หิ่งห้อย อัมพวา
Issue Date: 2553
Abstract: งานวิจัยนี้ทำการศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้แก่คุณภาพดินและคุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อ การอนุรักษ์หิ่งห้อยในพื้นที่สวนผลไม้ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยทำการศึกษาในพื้นที่ คลองที่ไหลผ่านสวนผลไม้จำนวน 3 ชนิดได้แก่ คลองท่าคาในพื้นที่สวนมะพร้าว คลองบางแคในพื้นที่ สวนส้มโอ และคลองแควอ้อมในพื้นที่สวนลิ้นจี่ ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2553 ผลการศึกษา ปริมาณแคดเมียมในน้ำพบว่ามีค่าอยู่ในช่วงตั้งแต่ตรวจไม่พบถึง 0.0945 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนในดินมี ค่าอยู่ในช่วง 0.0032 ถึง 0.0988 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณสารตะกั่วในน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 0.0031 ถึง 0.0671 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนในดินมีค่าอยู่ในช่วง 0.0297 ถึง 0.1344 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งพบว่า ปริมาณของสารโลหะหนักทั้งสองชนิดมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ผลการศึกษาพบว่าในคลองที่ไหลผ่านพื้นที่สวนมะพร้าวมีปริมาณสารแคดเมียมในน้ำสูงที่สุด ผลการ ตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายพบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 1.725 ถึง 6.05 มิลลิกรัมต่อลิตรซึ่งมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ มาตรฐาน ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพน้ำและดินตะกอนในสวนแต่ละประเภทโดย ใช้สถิติ one-way ANOVA พบว่าค่ากรด-ด่าง ออกซิเจนละลาย สารแคดเมียมทั้งในน้ำและในดิน ตะกอน สารตะกั่วทั้งในน้ำและในดินตะกอนความชื้นสัมพัทธ์ของดินตะกอนมีค่าไม่แตกต่างกันอย่าง มีในนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าความเค็มและอุณหภูมิของดินตะกอนมีความแตกต่างกัน ผล การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับจำนวนหิ่งห้อยพบว่าค่าออกซิเจนละลายใน คลองที่ไหลผ่านสวนมะพร้าวมีความสัมพันธ์กับปริมาณหิ่งห้อยสูงสุด คือ มีค่าความสัมพันธ์ไปใน ทิศทางเดียวกันเท่ากับ 0.751 รองลงมาคืออุณหภูมิของดินตะกอนในคลองที่ไหลผ่านสวนมะพร้าว เช่นกันซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางคือค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.695 ส่วนปริมาณของสาร แคดเมียมและสารตะกั่วในน้ำ มีความสัมพันธ์กับปริมาณหิ่งห้อยที่อาศัยอยู่ในคลองที่ไหลผ่านสวน ผลไม้และสวนลิ้นจี่ในระดับปานกลางผลการศึกษาปริมาณและการแพร่กระจายของประชากรหิ่งห้อยที่อาศัยในพื้นที่สวนผลไม้แต่ ละประเภทและการทำแผนที่แสดงการกระจายตัวของหิ่งห้อยในพื้นที่สวนผลไม้ โดยประยุกต์ใช้ระบบ สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ โปรแกรม ArcGIS (Version 9.3) ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ สวนผลไม้ที่ศึกษาในตำบลท่าคา ตำบลแควอ้อม และตำบลบางนางลี่มีการพบประชากรหิ่งห้อยใน พื้นที่ และในพื้นที่สวนผลไม้ทั้ง 3 ประเภทมีหิ่งห้อยอาศัยในพื้นที่เป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปีซึ่งแสดง ให้เห็นว่าในอดีตอำเภออัมพวาเป็นถิ่นอาศัยของประชากรหิ่งห้อยโดยสามารถพบหิ่งห้อยได้ในทุก ตำบลที่ศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแผนที่การกระจายตัวของหิ่งห้อยจะพบประชากรหิ่งห้อยตาม พื้นที่คลองที่ไหลผ่านสวนผลไม้มากที่ระยะห่างจากคลอง 50 เมตร สวนผลไม้ที่มีการหายไปของ หิ่งห้อยมากที่สุดในช่วงเวลามากกว่า 10 ปีคือ สวนส้มโอและสวนมะพร้าว ซึ่งประชากรหิ่งห้อยจะ หายไปในบริเวณพื้นที่ที่ห่างจากถนนในระยะ 100 เมตร ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของ ประชากรหิ่งห้อยตามประเภทสวนผลไม้โดยใช้สถิติ one-way ANOVA สรุปได้ว่าประชากรหิ่งห้อยไม่มีความแตกต่างกันตามประเภทสวนผลไม้
URI: http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/298
Appears in Collections:งานวิจัย (ภาษาไทย)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
018-53.pdf4.89 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.